พิพิธภัณฑ์ออนไลน์
คุณสามารถเพลิดเพลินกับการจัดแสดงและข้อมูลเอกสารต่าง ๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ได้ทางออนไลน์
นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นการบรรยายเมื่อคุณเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์
คำอธิบายงานนิทรรศการ
แนะนำนิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมภาชนะบรรจุ พร้อมภาพถ่าย คำอธิบาย และเสียง

ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมภาชนะบรรจุ
ภาชนะบรรจุ เป็นสิ่งที่มีการคิดค้น มีการสร้าง และมีการใช้งานเพื่อความสะดวกสบายของผู้คนในแต่ละยุคแต่ละสมัย พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมภาชนะบรรจุนี้ เปรียบเสมือนกุญแจ ที่จะช่วยไขความลับที่ถูกซ่อนไว้ในภาชนะบรรจุที่ท่านอาจไม่เคยรู้มาก่อน ท่านสามารถชมประวัติศาสตร์ เทคโนโลยี และการประดิษฐ์ภาชนะบรรจุได้ ตั้งแต่ยุคกำเนิดอารยธรรม ไปจนถึงภาชนะบรรจุล่าสุดของยุคปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมภาชนะบรรจุ เป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของภาชนะบรรจุสู่สังคม

เหตุผลที่มีพิพิธภัณฑ์ ณ แห่งนี้
อาคารที่เห็นนี้ คือสำนักงานใหญ่ของโทโยเซกังกรุ๊ป ผู้ผลิตภาชนะบรรจุอย่างครบวงจร เช่น กระป๋อง ขวดแก้ว ขวดพลาสติก ถ้วยกระดาษ กล่องกระดาษ เป็นต้น ก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้างอาคารแห่งนี้ เราได้ทำการเปิดพิพิธภัณฑ์นี้ขึ้น เพื่อให้ทุกท่านได้ทำความรู้จักและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของภาชนะบรรจุต่างๆ โดยมีการจัดแสดงภาชนะบรรจุที่หลากหลาย มีทั้งจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของโทโยเซกังกรุ๊ป และผลิตภัณฑ์ของบริษัทอื่นๆ

ที่มาของเครื่องหมายโลโก้
งานของพวกเราคือการปิดห่อหรือปิดบรรจุ เป็นการทำงานที่เกี่ยวกับการปกป้องสิ่งของที่อยู่ข้างในภาชนะ แต่การออกแบบของพิพิธภัณฑ์นี้ เราเน้นเรื่องของการเปิด ถ้าสังเกตเครื่องหมายโลโก้ของพิพิธภัณฑ์จะเห็นว่า รูปแบบเหมือนกล่องสี่เหลี่ยมที่ถูกเปิด ซึ่งความหมายก็คือ เราจะเปิดเผยความลับของภาชนะบรรจุให้ทุกท่านได้ชม นั่นเอง

เครื่องผลิตกระป๋องแบบอัตโนมัติเมื่อประมาณ 100ปีก่อน
ก่อนที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีเครื่องจักรผลิตกระป๋องแบบอัตโนมัติ บริษัทบรรจุกระป๋องในยุคนั้น ไม่เพียงทำการบรรจุเท่านั้น แต่จะทำการผลิตกระป๋องอีกด้วย โดยพนักงาน 1 คน สามารถผลิตกระป๋องได้วันละ 150 กระป๋อง ในยุคสมัยนั้นเอง คุณทาสึโนสุเก ทาคาซากิ ผู้ก่อตั้งโทโยเซกัง ได้ตัดสินใจเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจการบรรจุกระป๋อง และได้เห็นการผลิตกระป๋องในรูปแบบเครื่องจักรอัตโนมัติ ที่มีความเร็วในการผลิตได้มากถึงนาทีละ 75 กระป๋อง ในตอนนั้นเอง คุณทาสึโนสุเก ทาคาซากิ ได้มีความคิดว่า เพื่อที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่น บริษัทที่ทำการบรรจุกระป๋อง กับ บริษัทที่ผลิตกระป๋อง ควรแยกกัน แล้วควรใช้เครื่องจักรอัตโนมัติในการผลิต เวลาผ่านไป ในปีค.ศ. 1917 ได้มีการก่อตั้งบริษัทที่ผลิตภาชนะโดยเฉพาะด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ชื่อบริษัทที่ว่านั้นคือ โทโยเซกัง นั่นเอง

ขั้นตอนการผลิตกระป๋อง
เครื่องจักรที่แสดงอยู่นี้ คือเครื่องจักรขึ้นรูปโครงสร้างของกระป๋อง ด้านซ้าย คือต่ำแหน่งที่วางแผ่นวัสดุที่ตัดมาพอดีขนาด จากนั้นจะทำการส่งแผ่นวัสดุไปด้านขวาที่ละแผ่น ถ้ามองจากด้านขวาของเครื่องจักร จะมองเห็นชิ้นส่วนคล้ายปีกนก ซึ่งมีหน้าที่ในการดัดแผ่นวัสดุให้เป็นทรงกลม ด้านล่างจะเป็นจุดที่ต้องทำการเชื่อมต่อ โดยการเชื่อมต่อในจุดนี้ จะเป็นกระบวนการของเครื่องจักรถัดไป

มุมแนะนำ [เรื่องราวของคนกับภาชนะ]
งานแสดงที่ติดผนังนี้ คือตารางบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันยาวนานของภาชนะ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการเพื่อความสะดวกสบายของผู้คนตามยุคตามสมัย ท่านสามารถรับชมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาชนะได้ที่หน้าจอนี้ ในรูปแบบอนิเมชั่น โดยการเลือกภาษา แล้วกดปุ่มเริ่มต้น

คอนฟี่ (Confit) (ยุคสมัยปีค.ศ. 1800)
คอนฟี่ (Confit) คือกรรมวิธีของการทำอาหารอย่างหนึ่ง ที่ใช้น้ำมันในการตุ๋นอาหาร สามารถเก็บไว้ได้นานเมื่อเก็บพร้อมน้ำซุบ ตัวอย่างที่จัดแสดงนี้ ได้นำเนื้อมาตุ๋นกับน้ำมัน ปิดฝาจุกตามด้วยปูนเพื่อปิดให้มิดชิด วิธีการจัดเก็บอาหารในรูปแบบนี้ ถูกคิดค้นโดย นิโคลา เพล ที่เรียกกันว่าหลักการของกระป๋อง เนื่องจากการใช้ความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อแล้วสกัดกั้นอากาศไม่ให้เข้าไปข้างใน เป็นหลักการที่สืบทอดมายังการบรรจุกระป๋อง การบรรจุขวด และบรรจุภัณฑ์อาหารรีทอร์ท

ขวดแตงกวาแฮมิลตัน (ยุคสมัยปีค.ศ. 1800)
ขวดแฮมิลตัน ถูกคิดค้นโดย แฮมิลตันในสหราชอาณาจักร ที่ประเทศญี่ปุ่น ใช้ขวดนี้ในการใส่น้ำโซดา เนื่องจากรูปลักษณ์ภายนอกที่เหมือนกับแตงกวา หลายคนจึงเรียกขวดนี้ว่าขวดแตงกวา การปิดฝาขวดในยุคนั้น เป็นรูบแบบฝาจุก เพื่อให้ฝาจุกมีความชื้นตลอดเวลาและเพื่อให้ลมในน้ำอัดลมไม่หนีหาย จึงออกแบบให้วางในแนวนอน และมีขาตั้งเพื่อวางขวดในแนวตั้ง

ผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋องบนเรือ (ยุคสมัยปีค.ศ. 1900)
ยุคสมัยปีค.ศ. 1900 มีการเริ่มธุรกิจบรรจุกระป๋องบนเรือเกิดขึ้น โดยการขนกระป๋องเปล่าพร้อมเครื่องจักรบรรจุกระป๋องขึ้นเรือ แล้วออกเดินทาง ในระหว่างการเดินทาง จะมีการจับปลาแล้วนำมาทำอาหารเพื่อบรรจุเข้ากระป๋องบนเรือ ทำการติดฉลากเรียบร้อย ก็เดินทางต่อไปยังต่างประเทศเพื่อจำหน่าย กระป๋องที่จัดแสดงอยู่ในที่นี้ เป็นกระป๋องที่ผลิตในช่วงปีค.ศ. 1966 ถึง ปีค.ศ. 1970

การเคาะตีกระป๋องเพื่อตรวจสอบคุณภาพ (ยุคสมัยปีค.ศ. 1920)
วิธีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋องในสมัยก่อน จะใช้รูปแบบการเคาะตีกระป๋อง เพื่อตรวจสอบและพิจารณาว่าแต่ละกระป๋องมีปัญหาด้านคุณภาพหรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่เคาะตีกระป๋อง ต้องมีใบอนุญาตจากหน่วยงานรัฐบาล ในปัจจุบัน วิธีการตรวจสอบนี้ ได้พัฒนาให้เป็นการทำงานของเครื่องจักรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกท่านสามารถสัมผัสกับการตรวจสอบในรูบแบบการเคาะตีกระป๋องได้ ในพื้นที่จำลอง ด้านขวาหลังจากเข้าพิพิธภัณฑ์

แชมพูชนิดผง (ยุคสมัยปีค.ศ. 1930)
แชมพูในยุคปัจจุบัน โดยทั่วไปจะเป็นชนิดเหลวก็จริง แต่แชมพูของประเทศญี่ปุ่นในยุคแรกจะเป็นชนิดผง หุ้มโดยภาชนะกระดาษ ด้านหลังมีคำเตือนระบุว่า ผู้ที่มีทรงผมแนวญี่ปุ่นใช้ 1ก้อน ผู้ที่มีทรงผมแนวชาวตะวันตกให้นำไปละลายน้ำก่อนครึ่งก้อน ในสมัยที่ชาวญี่ปุ่นยังนิยมทรงผมประจำชาติ มีการจำหน่ายแชมพูผงนี้แล้วในชื่อแชมพู

ผลิตภัณฑ์กระป๋องบรรจุอาหารแบบเปิดฝา (ยุคสมัยปีค.ศ. 1930)
ผลิตภัณฑ์กระป๋องบรรจุอาหารเทศกาลปีใหม่ญี่ปุ่น ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ทหารที่ออกรบในช่วงสงคราม ได้ทานกันในสมรภูมิรบ

ผลิตภัณฑ์กระป๋องบรรจุข้าวแดง (ยุคสมัยปีค.ศ. 1940)
ช่วงสงคราม โลหะที่มีอยู่ จะถูกนำไปใช้ในการสร้างอาวุธ การผลิตกระป๋องในยุคนั้น จึงผลิตได้เฉพาะหน่วยงานทหารและผลิตเพื่อการทหารเท่านั้น ตัวอย่างของกระป๋องที่จัดแสดงอยู่นี้ คือกระป๋องบรรจุข้าวแดง ผลตรวจสอบล่าสุดปรากฏว่า ไม่พบการเกิดแบคทีเรีย หมายความว่า ระยะเวลากว่า 70ปี ที่กระป๋องนี้ทำหน้าที่ปกป้องสิ่งของที่อยู่ข้างในได้เป็นอย่างดี

ภาชนะชนิดเครื่องดินเผาและแก้ว (ยุคสมัยปีค.ศ. 1940)
ช่วงระหว่างสงคราม สามารถผลิตกระป๋องได้สำหรับเพื่อการทหารเท่านั้น ในระหว่างสงคราม ผู้ผลิตจึงหันไปผลิตภาชนะที่เป็นชนิดแก้วหรือชนิดเครื่องดินเผาแทน

กระป๋องชนิดเฮอร์ริ่งโบน (ยุคสมัยปีค.ศ. 1950)
นี่คือกระป๋องอายิโนะโมะโต๊ะที่ถูกออกแบบมาให้มีความพิเศษในการเปิด เนื่องจากอายิโนะโมะโต๊ะนั้น เป็นที่นิยมอย่างมากหลังจากเริ่มวางจำหน่าย ทำให้มีของปลอมทำเลียนแบบเกิดขึ้นจำนวนมาก จึงมีการสร้างกระป๋องที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อที่จะให้ของปลอมไม่สามารถเลียนแบบได้

น้ำผลไม้กระป๋องแบบเจาะรู (ยุคสมัยปีค.ศ. 1950)
ยุคสมัยแรกที่เริ่มมีกระป๋องบรรจุน้ำดื่มขาย การเปิดกระป๋องเพื่อดื่มน้ำ ต้องใช้เครื่องมือเจาะรู จึงมีการขายเครื่องมือเจาะรูกับน้ำดื่มเป็นเรื่องปกติ หลังจากนั้น มีการพัฒนาให้สามารถเปิดกระป๋องได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ แต่เนื่องจากมีการเปิดกระป๋องแล้วเกิดการทิ้งฝาที่แกะออกมาทิ้งเกลื่อนถนน จึงมีการออกแบบฝาเปิด ให้ติดกับตัวกระป๋อง อย่างที่เราได้เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

ภาชนะบรรจุอาหารรีทอร์ตรุ่นแรก (ยุคสมัยปีค.ศ. 1960)
ที่มาของอาหารรีทอร์ต ถูกคิดค้นโดยสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นอาหารสำหรับการทหาร และ เป็นอาหารสำหรับนักบินอวกาศ สิ่งที่นำมาจำหน่ายให้กับผู้คนทั่วไปในครั้งแรกก็คือ แกงกะหรี่ของประเทศญี่ปุ่น

เครื่องดื่มบรรจุขวดแก้ว (ยุคสมัยปีค.ศ. 1970)
เครื่องดื่มในยุคสมัยนี้ ยังไม่มีการใช้ขวดพลาสติก เครื่องดื่มที่มีการขายทั่วไป จึงบรรจุในขวดแก้ว ญี่ปุ่นในช่วงนี้ มีการเริ่มงานใหญ่อย่างงาน Osaka Expo และมีการเปิดกิจการร้านสะดวกซื้อ สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่น และส่งผลให้ภาชนะในยุคนี้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ขวดพลาสติกที่มีฝาท้ายขวด (ยุคสมัยปีค.ศ. 1980)
เครื่องดื่มบรรจุในขวดพลาสติก เริ่มวางขายในช่วงยุคสมัยปี 1980 ฝาปิดในสมัยนั้นจะเป็นฝาชนิดอลูมิเนียม ท้ายขวดจะมีฝาครอบ เนื่องจากน้ำอัดลมจะมีแรงดันจากภายใน ท้ายขวดจึงออกแบบมาเป็นทรงกลมที่ไม่สามารถตั้งได้ การสวมฝาคลอบนี้ ช่วยให้ง่ายต่อการตั้งวาง และมีขวดพลาสติกชนิดที่มีสีเหมือนกับงานที่แสดงอยู่ตรงนี้ด้วย

ขวดพลาสติกขนาดเล็ก (ยุคสมัยปีค.ศ. 1990)
ในช่วงแรกที่เครื่องดื่มบรรจุในขวดพลาสติก เริ่มมีการขายในท้องตลาด เกิดความกังวลในเรื่องขยะที่อาจเพิ่มขึ้น จึงมีการกำหนดกฎระเบียบให้ห้ามใช้ขวดพลาสติกที่มีขนาดต่ำกว่า 500มิลลิลิตรml ในปีค.ศ. 1996 ได้มีการผ่อนผันกฎระเบียบ จึงสามารถเริ่มผลิตเครื่องดื่มบรรจุในขวดพลาสติกขนาดเล็กได้ เพื่อรองรับด้านสิ่งแวดล้อม มีการออกแบบให้ขวดพลาสติกสามารถรีไซเคิลได้ และฝาปิดที่เป็นอลูมิเนียม ได้เปลี่ยนมาเป็นพลาสติก และยกเลิกฝาครอบที่ท้ายขวด เนื่องจากมีการพัฒนาให้สามารถตั้งขวดได้โดยไม่ต้องมีฝาคลอบ และมีการกำหนดให้ใช้ขวดที่ไม่มีสี หรือขวดใส

อาหารฉุกเฉิน (ยุคสมัยปีค.ศ. 2010)
เหตุการภัยพิบัติแผ่นดินไหวภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้เริ่มมีการทบทวนในเรื่องของอาหารกระป๋องและอาหารฉุกเฉิน จึงมีการพัฒนาอาหารสำหรับการจัดเก็บระยะยาวที่สามารถทานได้ในยามฉุกเฉิน กลายเป็นสิ่งที่มีผู้คนจำนวนมาก ซื้อเก็บไว้ประจำบ้าน

อาหารสำหรับการดูแลคนไข้ (ยุคสมัยปี ค.ศ. 2010)
อาหารสำหรับการดูแลคนไข้ คืออาหารที่มีการแสดงข้อมูลระดับความแข็งของอาหาร มีการควบคุมความแข็งของอาหารในการผลิต และมีข้อมูลแสดงที่หน้าซอง ว่าความแข็งของอาหารอยู่ในระดับไหน เนื่องจากผู้สูงอายุมีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อาหารสำหรับการดูแลคนไข้ เพิ่มชนิดมากขึ้นไปด้วย

02 มุมแนะนำบทบาทหน้าที่ของภาชนะบรรจุ
บทบาทหน้าที่ของภาชนะบรรจุ มีอยู่ 3 หน้าที่คือ ปกป้องรักษา ง่ายต่อการใช้งาน และใช้งานได้จริง เพื่อที่จะทำให้ได้ตามบทบาทหน้าที่นี้ จึงมีการพัฒนาด้านวัสดุ ด้านรูปลักษณะ และด้านการออกแบบ ตามที่ได้แสดงอยู่ในพื้นที่นี้

ภาชนะบรรจุกันแสง
ขวดแก้วสีน้ำตาลนี้ คือเครื่องดื่มวิตามินซีที่อ่อนต่อแสงแดด เพื่อปกป้องน้ำวิตามินซีที่อยู่ในขวด จึงมีการออกแบบให้ขวดแก้วเป็นสีน้ำตาล เพื่อให้แสงเข้าได้ยาก

ภาชนะบรรจุกันออกซิเจนเข้า
สิ่งที่สัมผัสกับออกซิเจนแล้วรสชาติจะเปลี่ยนอย่างมายองเนส จะมีการบรรจุลงในภาชนะที่มีโครงสร้างหลายชั้น เพื่อสร้างชั้น Barrier กันไม่ให้ออกซิเจนเข้า เพื่อปกป้องรสชาติของมายองเนสไม่ให้เปลี่ยนแปลง

ภาชนะที่เคลื่อนย้ายง่าย วางง่าย จัดเรียงง่าย
กล่องกระดาษที่จัดแสดงอยู่นี้ เมื่อถอดส่วนบนออกครึ่งหนึ่ง ก็จะสามารถนำไปจัดไว้ที่ชั้นวางเป็นแถวได้เลยทั้งกล่อง เป็นการออกแบบเพื่อให้คนที่ร้าน นำไปจัดเรียงได้ง่าย และสามารถจัดเรียงแยกย่อยได้อีกด้วย

ภาชนะที่สื่อให้เห็นถึงสิ่งที่มีอยู่ภายใน
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะมีตัวอักษรเบลล์กำกับไว้ที่กระป๋อง เพื่อให้ผู้พิการด้านสายตารับรู้ว่า เครื่องดื่มนั้นมีแอลกอฮอล์หรือไม่

03 มุมแนะนำภาชนะบรรจุในยุคปัจจุบัน
เบื้องหลังของภาชนะบรรจุเครื่องดื่มหรืออาหาร มีเรื่องราวของเทคโนโลยีและภูมิปัญญาของผู้คนมากมาย ที่ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ขอให้ทุกท่านได้ชื่มชมและได้สัมผัสภาชนะบรรจุของจริง เล่นเกมตอบคำถาม เรียนรู้เรื่องราวของการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องของภาชนะ ว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร

มุมถามและตอบ
ท่านสามารถเปิดประตูไขข้อสงสัยของท่านได้ โดยมีคำตอบซ่อนอยู่ภายในนี้ ไม่ว่าจะเป็นคำถามอย่างนมบรรจุกระป๋องมีหรือไม่ หรือ เครื่องดื่มอัดลมบรรจุกล่องกระดาษมีหรือไม่ คำตอบนั้น รวมไว้ ณ ที่นี้ให้ท่านแล้ว

ขยายโลกให้กว้างขึ้น
ภาชนะบรรจุอาหารสำเร็จรูป มีความลับในการปกป้องรสชาติของอาหารและความปลอดภัยในการอุปโภคบริโภคมากมาย เช่น มุม [มาดูกันเถอะ] นี้ ท่านสามารถส่องเข้าไปดูภาพขยายของฝากระป๋อง โดยผ่านแว่นขยายได้ เมื่อท่านได้ส่องดูแล้ว จะพบว่า การยึดฝาเข้ากับกระป๋อง ไม่ได้ใช้วิธีเชื่อมต่อ แต่ใช้วิธีม้วนเพื่อยึดฝาไว้กับกระป๋อง

หนังสือภาพเปรียบเทียบภาชนะในอดีตกับปัจจุบัน
ภาชนะสำหรับใช้ประจำวัน ใช้ประโยชน์ได้ทั้งเป็นภาชนะและเครื่องมือ เรามาเปรียบเทียบภาชนะในอดีตกับปัจจุบันกัน จะพบว่า การวิวัฒนาการของภาชนะ ส่งผลต่อความสะดวกสบายของผู้คน เช่น ภาชนะบรรจุยาฆ่าแมลงในอดีต เล็งยากมากเมื่อเจอแมลงที่วิ่งไปมา แต่ปัจจุบัน สามารถเล็งได้ง่ายโดยไม่ต้องจับสองมือ

สัมผัสความสะดวกในการใช้งาน
ภาชนะบรรจุเป็นสิ่งที่ถูกคิดมาเป็นอย่างดีเพื่อความสะดวกสบายของผู้คน เชิญทุกท่านสัมผัสกับผลงานจากการวิจัยและจากการพัฒนาของผู้พัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังเสียงจากผู้ใช้ในเรื่องภาชนะบรรจุ ที่มีความยากต่อการแยกแยะ จึงมีการออกแบบฝาใหม่ เพื่อให้สามารถรู้ได้ถึงความแตกต่าง

04 มุมแนะนำเรื่องสิ่งแวดล้อม
มุมแนะนำนี้ จะเป็นเรื่องราวของภาชนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และความเอาใจใส่ในด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิตที่หลากหลาย รวมถึงความมุ่งมั่นในการที่จะพัฒนาภาชนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ขวดแก้วที่มีความเบาและใช้ซ้ำได้
ขวดแก้วที่จัดแสดงอยู่นี้ เป็นชนิดที่มีความบางและเบา สามารถล้างเพื่อนำมาใช้ซ้ำได้ แต่ขวดแก้วที่เบา จะทำให้แตกง่าย จึงมีการเสริมความแข็งแรงโดยการเคลือบเรซิ่น จนมาเป็นขวดที่เราใช้ในปัจจุบันที่สามารถใช้ซ้ำได้นั่นเอง

ภาชนะบรรจุกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
มุมแนะนำนี้ จะเป็นการแนะนำที่มาที่ไปของภาชนะ ว่าทำจากอะไรแล้วสุดท้ายหลังใช้งานจะไปไหน ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าหรือไม่ สิ่งที่จัดแสดงอยู่นี้ คือวัสดุที่ในการผลิตกระป๋อง ประกอบด้วยแร่เหล็กและแร่อะลูมิเนียม ส่วนกระป๋องที่จัดแสดงอยู่นี้ ได้มีการผลิตขึ้นมาในกระบวนการพิเศษ ที่มีการใช้น้ำในการผลิตที่น้อยมาก และการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ co2 ก็น้อยมากเช่นกัน กระป๋องหลังจากใช้งานแล้ว จะถูกส่งไปรีไซเคิล แปรรูปเป็นโครงเหล็กหรือโครงสร้างรถยนต์หรือจะกลับมาเป็นกระป๋องอีกครั้ง

มุมเล่นเกมด้านสิ่งแวดล้อม
ท่านสามารถเรียนรู้ความสำคัญของการแยกประเภทขยะได้จากมุมเกมนี้ ภาชนะที่ใช้แล้ว ถ้ามีการแยกประเภทอย่างถูกต้อง จะกลายเป็นทรัพยากรที่ใช้ต่อได้ ทุกท่านสามารถเล่นเกมนี้ได้ โดยจะมีภาชนะต่างๆตกลงมา ท่านต้องทำการคัดแยกประเภทของภาชนะต่างๆให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด ท่านต้องขัดขวางการกินขยะของมอนสเตอร์ขยะให้ได้ มาร่วมสนุกด้วยกันเลย!!

05 มุมแนะนำเรื่องการหมุนเวียนของภาชนะบรรจุ
ท่านทราบหรือไม่ เพื่อที่จะใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างคุ้มค่า ภาชนะบรรจุ ได้มีการผลิต มีการใช้ มีการเก็บ เพื่อนำไปใช้ซ้ำอีกอย่างต่อเนื่อง ขอเชิญทุกท่านชมโลกแห่งการหมุนเวียนของภาชนะได้เลย ณ ที่นี้

การผลิต
ท่านสามารถรับชมกระบวนการผลิตภาชนะในรูบแบบวีดีโอได้ในมุมแนะนำนี้ เชิญเลือกวีดีโอที่ต้องการชม เช่น การผลิตกระป๋อง การผลิตขวดพลาสติก การผลิตฝา การผลิตขวดแก้ว การผลิตถ้วยกระดาษ โดยการสัมผัสที่หน้าจอ ขอให้สนุกกับภาพ แสง สี เสียง ของกระบวนการผลิต

การขนส่ง
ภาชนะที่ผลิตขึ้นมา จะมีการจัดส่งไปยังโรงงานเพื่อบรรจุสิ่งของ ในหน้าจอนี้ ท่านสามารถติดตามกระบวนการบรรจุน้ำดื่มลงในขวด สามารถเลื่อนไปหน้าถัดไปได้โดยการสัมผัสหน้าจอ หลังจากบรรจุเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการจัดส่งไปจัดเรียงที่หน้าร้าน สุดท้ายก็ถึงมือทุกท่าน

รวบรวมแล้วก็นำมาผลิต
ภาชนะที่ใช้แล้ว จะมีการคัดแยกประเภท และนำมารวบรวม เพื่อกลับไปเป็นภาชนะอีกครั้ง หรืออาจจะนำไปผลิตเป็นสินค้าอื่นทดแทน จึงอยากให้ทุกท่านได้ทราบว่า ภาชนะคือทรัพยากรไม่ใช่ขยะ จึงต้องช่วยกันคัดแยกประเภทให้ดี

06 มุมแนะนำ คอลเล็กชั่นฉลากกระป๋อง
มุมแนะนำนี้ ได้รวบรวมฉลากที่เป็นวิธีการแสดงข้อมูลสินค้าในกระป๋อง เพื่อให้ทุกท่านได้เห็นความเปลี่ยนแปลง ฉลากกระป๋องในยุคสมัยก่อน มีการพิมพ์ใส่กระดาษแล้วนำมาม้วนติดใส่กระป๋อง ต่างกับยุคปัจจุบันที่ส่วนมากจะพิมพ์ใส่กระป๋องโดยตรง

หน้าจอของคอลเล็กชั่นฉลาก
ในที่นี้ ทุกท่านสามารถรับชมฉลากกระป๋องได้ตั้งแต่ยุคเมจิ โดยการสัมผัสที่หน้าจอ สมัยที่การบรรจุกระป๋อง เน้นจำหน่ายที่ต่างประเทศ ท่านจะเห็นฉลากในยุคนั้น เน้นโปรโมทแหล่งผลิตจากญี่ปุ่น ที่ฉลากจะมีรูปที่สื่อให้เห็นว่าเป็นญี่ปุ่น เช่นรูปผู้หญิงที่จัดทรงผมเป็นแนวญี่ปุ่นหรือมีรูปภูเขาฟูจิเป็นต้น ฉลากแต่ละแผ่นในแต่ละยุคสมัย สื่อให้เห็นถึงเรื่องราวของประเทศญี่ปุ่นแต่ละยุดสมัยให้เราได้รู้

ฉลากกระดาษติดกระป๋อง
ท่านสามารถชมฉลากกระดาษที่ใช้จริงได้ในที่นี้ ในยุคสมัยที่ยังไม่มีเทคโนโลยีพิมพ์ภาพถ่าย การออกแบบฉลากสินค้า จะเน้นสีสันที่สวยงาม เพื่อดึงดูดความสนใจ

การตีพิมพ์ที่กระป๋อง
การพิมพ์โดยตรงไปยังกระป๋อง แตกต่างกับวิธีม้วนติดฉลากมาก งานที่จัดแสดงอยู่นี้คืองานพิมพ์กระป๋องที่ใช้แม่พิมพ์ถึง 7แผ่น เพื่อพิมพ์สีใส่กระป๋อง 7สี ท่านสามารถชมวีดีโอวิธีการผลิตกระป๋องนี้ได้ ที่มุม 05 มุมแนะนำเรื่องการหมุนเวียนของภาชนะบรรจุ

มุมแนะนำบอร์ดแห่งความฝัน
ในพิพิธภัณฑ์นี้ จะมีบัตรแห่งความฝัน วางไว้ที่โต๊ะลักษณะคล้ายเครื่องหมายโลโก้ของพิพิธภัณฑ์ ท่านสามารถเขียนภาชนะในฝันที่ท่านต้องการลงในบัตรแห่งความฝันแล้วใส่ลงในกล่องได้ บัตรที่เราได้ทำการรวบรวม จะมีการนำไปติดที่บอร์ดแห่งความฝันในบางส่วน เพื่อให้ท่านอื่นได้ชื่นชมกัน

มุมสัมผัสการเคาะตีกระป๋องเพื่อตรวจสอบคุณภาพ
เราได้เตรียมมุมสัมผัสการเคาะตีกระป๋องเพื่อตรวจสอบคุณภาพนี้ให้กับทุกท่าน เพื่อให้ได้สัมผัสกับการตรวจสอบในยุคสมัยก่อนด้วยตัวของท่านเอง กระป๋องที่จัดเรียงอยู่นี้ จะมีกระป๋องที่มีน้ำอยู่เพียงกระป๋องเดียว ท่านต้องเคาะตีกระป๋อง แล้วหากระป๋องที่มีน้ำให้เจอ เทคนิคในการเคาะก็คือ ให้ทำการเคาะที่เดิมด้วยแรงที่เท่ากัน ในยุคปัจจุบัน การตรวจสอบนี้ ได้เปลี่ยนจากคนตรวจสอบเป็นเครื่องจักรตรวจสอบแทน แต่ในยุคสมัยก่อน เราใช้วิธีเคาะนี้ ในการคัดแยกของดีของเสีย ในการตรวจสอบจริง ปริมาณสิ่งของที่บรรจุในกระป๋องจะเท่ากัน และของดีของเสียนั้น เสียงที่ดังขึ้นจากการเคาะ ก็จะแตกต่างกันอีกด้วย